ตำราว่าไว้ รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง เว็บแห่งนี้ส่วนใหญ่แล้วจะกล่าวถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเขียนโปรแกรมทางด้านเว็บ
โดเมน ก็เกี่ยวข้องอยู่ไม่น้อยทีเดียว
ผมได้ไปอ่านเจอกระทู้หนึ่งใน thaiseoboard.com ว่าด้วยเรื่องของโดเมนนี่แหละ และเห็นว่าเป็นกระทู้ที่ให้ความรู้มากทีเดียว ผมจะก้อปปี้มาให้ท่านอ่าน ณ ที่นี้ ผมไม่ได้ขออนุญาติผู้เขียนบทความเป็นเรื่องเป็นราว ก็ต้องขออภัยด้วยนะครับ หากท่านมาเจอ ว่าแล้วก็ผมขออนุญาติก้อปปี้บทความ ซะที่ตรงนี้เลยละกันครับ
เจ้าของบทความ : movemore
เว็บไซต์ : จดโดเมน reseller
ต้นฉบับ : http://www.thaiseoboard.com/index.php/topic,69421.0.html
และต่อจากนี้คือสิ่งที่ท่าน movemore ได้เขียนไว้
นิยามคำศัพท์ของการใช้บริการโดเมน
registrar หมายถึง ผู้ที่รับใบอนุญาติประกอบการจดโดเมนจาก ICANN ที่ควบคุมโดเมนอยู่ทั่วโลก
(ตัวอย่าง registrar ได้แก่ Goddady.com, DirectI, OnlineNIC, Name.com, …)
registry คือนายทะเบียน ที่ควบคุม กำกับ ดูแลนโยบายการให้บริการ, ราคา และการให้บริการ ดอท ต่างๆ แตกต่างกันไป
(ตัวอย่าง registry เช่น .com .net .cc ดูแลโดย verisign .info ดูแลโดย Afilias NeuLevel ดูแลโดย NeuLevel เป็นต้น)
reseller คือผู้ให้บริการที่รับโดเมนมาจาก registrar ตรงแต่ support โดยผู้ที่รับโดเมนมาขายต่อ
Backorder คือการจับจองชื่อโดเมนที่มีเจ้าของอยู่แล้ว ผ่านผู้ให้บริการรับจดโดเมนนั้นๆ
After Market คือ การขายทอดตลาดโดเมน เพื่อทำกำไรของ registrar
Parking Page คือหน้าที่มีโฆษณาทั้งหน้าเว็บไซต์ รวมถึงมีลิงก์ไปยังผู้ให้บริการ (registrar)
การเริ่มเป็น registrar มีไม่กี่ขั้นตอนครับ
เพียงยื่นใบขออนุญาติ วางเงินประกัน และตั้งระบบจดทะเบียน ก็สามารถเริ่มรับจดโดเมนได้แล้ว
ในส่วนนี้ จะแบ่งเป็น 3 ส่วนดังนี้
1. ค่าธรรมเนียมการยื่นขอจดทะเบียนต่อ ICANN ในส่วนนี้จะจ่ายครั้งเดียวครับ
2. ค่าธรรมเนียมสมาขิก ICANN รายปี
3. ค่าบริการ registry + ค่าธรรมเนียม icann (อันนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละ TLD + 0.20$ เป็นค่าบำรุงระบบ ICANN* ครับ)
ค่า บำรุงระบบ ICANN จะถูกคิดเฉพาะโดเมนในกลุ่ม Global TLD (gTLD) ได้แก่ .com, .net, .org, .biz, .info, .name, .jobs, .mobi, และ .asia.
ช่องทางการหารายได้ของ registrar แต่ละแห่ง
วิธีแบบ classic สุดๆเลยก็คือการขายโดเมน + กำไรครับ
เช่นรับจาก registry มา 7.06$ ก็ตั้งราคาขาย 8.99$ นั่นคือกำไร 1.93$ ต่อโดเมน
แต่วิธีนี้เห็นจะเป็นเม็ดเงินที่ไม่มากครับ และอยู่ลำบากในวงการนี้
เมื่อเทียบกับ registrar อันดับหนึ่งของโลกอย่าง Goddady ที่มีทั้งยอดจด/อัตราการจดสูงสุดของโลก
เป็นเวลาติดต่อกันมาหลายปีัแล้วครับ……..
ส่วนต่อๆไปคือการหารายได้จาก parking page ซึ่งตามปกติ เมื่อโดเมนเราเพิ่งจดแล้วยังไม่ได้แก้ Name Server
โดเมนของเราจะถูกชี้ไปที่ park name server ซึ่งรายได้จากโฆษณาในหน้านี้ทั้งหมด จะเป็นของ registrar ครับ
วิธีตรวจสอบว่าจดโดเมนกับ registrar เจ้าไหนอยู่??
สามารถใช้เครื่องมือ whois ได้เลยครับ
แบบง่ายๆสุดก็เติม who.is/ ไปหน้าเว็บไซต์ที่กำลังเข้าใช้งานอยู่ หรือต้องการตรวจสอบ
เช่น
who.is/http://www.google.com
who.is/google.com
who.is/http://www.google.com/xxxx
who.is/http://www.thaiseoboard.com/index.php/topic,69358.0.html
ข้อมูลที่ได้ออกมา จะแสดง registrar ของเราครับ
ลำดับขั้นการให้บริการจดโดเมน
เมื่อคุณคิดจะเลือกจดโดเมน
ตามปกติจะไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่กับ registrar ว่าใคร จดโดเมนที่ไหนอย่างไรใช่ไหมครับ?
แต่จริงๆแล้ว registrar เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่บ่งชี้ถึงชะตากรรมของโดเมนเรา เมื่อถึงเวลาต่ออายุครับ
ถ้าใช้กับเจ้าที่ขาย backorder/after market ล่ะ ระยะเวลาการต่ออายุของเราก็จะสั้นลงครับ
registrar แต่ละแห่งมีการทำการตลาดแตกต่างกันไป
อาทิเช่น
ขายกับลูกค้าโดยตรง โดยส่วนมากจะใช้การตัดบัตรเครดิตเป็นส่วนใหญ่ครับ
ตัวอย่างเช่น name.com, goddady.com, register.com เป็นต้น
ขายผ่านการกิน % ยอดขายของนายหน้า อันนี้เป็นอีกหนึ่งช่องทางการเพิ่มยอดขายของ registrar
โดยจะเปิดให้สมัครและเปิดหน้าร้านรับจดโดเมนเป็นของตัวเองเลย ภายใต้ระบบของ registrar
ในส่วนนี้คนที่เปิดรับจดมีหน้าที่เพียง promote หรือลงโฆษณาตามเว็บต่างๆเพื่อให้มีการสั่งซื้อผ่านหน้าเว็บ aff ของตนเองครับ
ตัวอย่างเช่น wildwestdomain.com, การซื้อ goddady ผ่านลิงก์ cj.com เป็นต้น
ขายผ่านตัวแทนจำหน่าย ในส่วนนี้จะเป็นการขายผ่าน reseller ย่อยเท่านั้น
วิธีนี้มีข้อดีคือ สามารถ support ลูกค้าได้ทั่วถึง มีการให้บริการในภาษาของประเทศนั้นๆ เช่น ภาษาไทย
ส่วนใหญ่จะเน้นขายโดเมนในราคาสูงกว่าทุนเล็กน้อย เพื่อให้ reseller สามารถนำไปให้บริการต่อได้
แต่ก็มีข้อเสียเช่นกัน สำหรับ reseller บางเจ้าที่ไม่ซื่อสัตย์ต่อลูกค้า หรือมีการ support ที่ไม่ดีเท่าที่ควร
ในส่วนนี้โดเมนของเราเองก็อาจจะตกอยู่ในความเสี่ยงต่อการถูกขโมย/มีปัญหาครับ
ตัวอย่าง registrar ที่ให้บริการแบบนี้เช่น DirectI, eNom, OnlineNIC
ส่วนตัวอย่าง reseller ที่ให้บริการขายกันทั่วไปเช่น dotsiam.com, hostneverdie.com, hbdhosting.com, jotdomain.com เป็นต้น
จะมั่นใจได้อย่างไร ถ้าใช้บริการกับ domain reseller?
อันนี้เป็นคำถามที่หลายคนอาจจะสงสัย แต่หาคำตอบไม่เจอครับ
ว่าจดโดเมนกับคนไทยด้วยกันมั่นใจแล้ว จะมั่นใจได้อย่างไรกับคนที่รับจดโดเมนกับเรา
อย่างแรกเลยดูเลยครับ ว่าใช้ registrar เจ้าไหน….
http://www.thaiseoboard.com/in…69421.msg848389.html#msg848389
หลังจากนั้นแนะนำว่าควรเลือกจดกับผู้ให้บริการที่เปิดให้บริการมาแล้วเป็นเวลานานพอสมควร…
เพราะปัจจุบันนี้มีผู้ให้บริการรายใหม่เยอะมาก แต่ที่เลิกกิจการไปก็เยอะเช่นกันครับ
(ตัวอย่างที่มีปัญหาเยอะๆ: http://www.thaihosttalk.com/index.php?board=34.0)
กรณีที่ผู้ให้บริการเลิกให้บริการ จากประสบการณ์ที่เจอ กว่าจะย้ายโดเมนมาจัดการเอง เล่นเอาเหงื่อตกเลยครับ
โดยเฉพาะที่จดกับ OnlineNIC …. อันนี้ต้องให้คนที่เป็น reseller ทำให้เราหมดเลย
ดังนั้นถ้าเกิดติดต่อไม่ได้ โดเมนของคุณก็ไม่สามารถทำอะไรได้เช่นกันครับ
แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ DirectI คือคนที่รับจด ไม่ cancel invoice ตอนที่ทำรายการจดโดเมน
กลายเป็นว่า domain lock ครับ ไม่สามารถย้ายออกได้เลย
ปล. ไม่ค่อยซีเรียสเท่าไหร่ ถ้าอยู่กับ DirectI เพราะฝ่าย support ติดต่อง่ายกว่า OnlineNIC เยอะครับ
โดเมนเป็นปัจจัยที่่สำคัญที่สุดของการทำเว็บไซต์
ดังนั้นต้องพิจารณาให้ดีครับ ก่อนเลือกใช้บริการ….
Leave a Reply