เอาล่ะ หลังจากที่เราติดตั้ง Laravel และสำรวจกันไปแล้วว่าภายใน Laravel นั้นมีโฟลเดอร์อะไรบ้างเป็นเบื้องต้นและแต่ละโฟลเดอร์มันไว้สำหรับเก็บอะไร  เราก็จะมาเปิดเว็บเรากัน

http://localhost/blog

เราจะได้เจอกับลิสต์รายการไฟล์

2016-05-27_14-44-24

ครับผม ดูไม่น่ารักเลย แล้วไงต่อ  เราต้องชี้เข้าไปยังโฟลเดอร์ public ครับ เพราะนั่นเป็นโฟลเดอร์สำหรับแสดงเว็บ โฟลเดอร์อื่นๆเป็นโฟลเดอร์สำหรับงานพัฒนาทั้งนั้น (อนาคตไม่อยากให้เห็น public มันสามารถทำได้ ใจเย็นๆ)

http://localhost/blog/public

ก็อาจจะเจอกับคำพูดอะไรสักอย่างที่อ่านแล้วก็งงๆ ไม่เป็นไรครับเดี๋ยวเราจะค่อยแกะกันทีละเปลาะจนคุณรันแล้วเห็นหน้า welcome แน่นอน

2016-05-27_14-50-58

จริงๆแล้วมันสิ่งที่จะต้องทำอย่างแรก หลังจากติดตั้ง Laravel นั่นคือ generate key เพราะ Laravel มันจะเอา key ตัวนี้ไปประกอบการเข้ารหัสต่างๆ รวมถึงเป็นส่วนประกอบหนึ่งในการสร้างรหัสผ่านให้ยูสเซอร์ด้วย

Generate Key

  1. เปิด command line ขึ้นมาแล้ว cd เข้าไปยังโปรเจ็ก
    2016-05-27_15-00-07
  2. พิมพ์คำสั่ง php artisan key:generate
    2016-05-27_15-01-52
  3. key จะถูก generate และเขียนลงไฟล์ .env ไว้
    2016-05-27_15-11-05
  4. ลองเปิดไฟล์ .env ในโปรเจ็กเราดู นั่นไง
    2016-05-27_15-13-32

ทีนี้ลองเข้าเว็บเราใหม่อีกที

http://localhost/blog/public

มันต้องจังซี่สิ

2016-05-27_15-15-22

บทนี้เราได้ใช้คำสั่ง php artisan key:generate  ซึ่งท่านก็คงงง มันคืออะไร ผมขอยกยอดอธิบายรวมที่เดียวในบทหน้าเลยดีกว่า เรื่อง php artisan