ตัวอย่างโค้ด :
1 2 3 4 5 6 7 8 | < ?php $fruit_list = array("orange", "banana", "apple"); $first_fruit = array_shift($fruit_list); print( $first_fruit ); print_r($fruit_list); ?> |
ผลลัพธ์ที่ได้ :
orange Array ( [0] => banana [1] => apple ) |
ในตัวอย่างท่านจะเห็นว่า นอกจากค่าที่ได้ในตัวแปร $first_fruit จะเป็น ค่าตัวแรกแล้ว Array $fruit_list จะลบค่าตัวแรกทิ้งไปด้วยเลย ทำให้ใน Array จากเดิมที่มีค่าอยู่ 3 ตัว เหลือแค่ 2 ตัวเท่านั้น ฟังก์ชั่น array_shift นี้จะทำการกับค่าตัวแรกเท่านั้น เสมอ ใครอยู่เป็นคนแรก เป็นอันว่าโดน
คำสั่งนี้เป็นคำสั่งยอดนิยมเลยก็ว่าได้ จะเห็นใช้งานกันบ่อยมาก โดยเฉพาะที่เห็นชัดๆ คือระบบแชต สมมุติ สมศรีพิมพ์ข้อความแรก ก็จะเก็บข้อความไว้ในอะเรย์ แล้วแสดงผล พอสมศักดิ์พิมพ์ข้อความตอบ ก็เอาไปเก็บในอะเรย์ตัวที่ถัดจากขอสมศรี แล้วแสดงผล เมื่อสมศักดิ์และสมศรี พิมพ์โต้ตอบกันไปกันมา อะเรย์ชักจะยาวมาก แสดงผลเกินหน้าจอแล้ว ก็ต้องเอาข้อความเก่าๆ ทิ้งเสียบ้าง ข้อความเก่าคือข้อความไหนล่ะ ก็ข้อความที่ใส่ไปแรกสุดนั่นแหละ ความต้องการอย่างนี้ ใช้คำสั่ง array_shift แค่คำสั่งเดียว เรียบร้อย นี่เป็นแค่ตัวอย่างการประยุกต์ตัวอย่างหนึ่ง
ในกรณีที่พารามิเตอร์ที่ส่งเข้าไปในฟังก์ชั่น เป็น Array ว่าง ฟังก์ชั่นนี้จะคืนค่ากลับมาเป็น NULL :
1 2 3 4 5 6 7 | <?php $fruit_list = array(); $return1 = array_shift($fruit_list); print( $return1 ); ?> |
ผลลัพธ์ที่ได้ :
ข้อมูลเพิ่มเติม : http://th2.php.net/manual/en/function.array-shift.php
CheapCamera says:
23/08/2553 at 23/08/2553
ความรู้เพิ่มเติมอีกแล้ว