เรามาทดลองอะไรเล่นๆกันยังนี้ก่อน

  1. เปิด command line ขึ้นมาแล้ว cd ไปยังโปรเจ็ก blog ของเรา
    2016-05-27_15-00-07
  2. พิมพ์คำสั่ง php artisan make:controller QuestionController แล้วกด Enter ไปดอกหนึ่งเน้นๆ
    2016-05-27_15-48-46
  3. ทางนู้นเขาก็จะแจ้งกลับมาบอกว่า ทำที่สั่งให้แล้วนะ create successfully
    2016-05-27_15-49-09
  4. ลองเปิดเข้าไปยังโฟลเดอร์ C:\xampp\htdocs\blog\app\Http\Controllers จะพบกับไฟล์ QuestionController.php
    2016-05-27_15-49-47
  5. เปิดเข้าไปดูในไฟล์ซิ ครับมีการประกาศชื่อคลาสไว้ให้ ประกาศ namespace ไว้ให้ use สิ่งที่จำเป็นจะต้องใช้ไว้ให้ เรียกว่าเตรียมไฟล์ไว้ให้เราพร้อมสำหรับการเขียนโค้ด Controller
    2016-05-27_15-50-44

อยากให้ดูแค่นี้แหละครับ  แค่อยากจะบอกว่าคำสั่ง php artisan make:controller QuestionController นั้นมันเป็นเครื่องมือช่วยทุ่นแรง อยากบอกแค่นี้แหละ ทีนี้เรามาดูละเอียดกันว่า แต่ละส่วนมันหมายถึงอะไร ก่อนที่จะลงลึกไปอีกระดับ

คำสั่ง : php artisan make:controller QuestionController ประกอบไปด้วย

php – คำสั่งสำหรับเรียกใช้ php ในรูปแบบ command line มือใหม่อาจจะยังไม่ทราบว่า php นั้นนอกจากจะเรียกใช้งานผ่านหน้าเว็บได้แล้ว มันยังสามารถเรียกใช้งานผ่าน command line ได้ด้วยนะ

artisan – คำสั่ง utility ของ Laravel เวลาจะเรียกใช้งาน จะต้องขึ้นต้นด้วย php artisan เสมอ

make:controller – สิ่งที่อยากให้ทำ ในที่นี้คือบอกให้ช่วยสร้าง Controller ให้หน่อย

QuestionControllser – ชื่อ Controller ที่ต้องการให้สร้าง

เมื่อรวมกันแล้วเป็นคำสั่งว่า เห้ย … สร้าง controller ชื่อ QuestionController ให้หน่อยซิ

คืออยากจะบอกอย่างนี้นะครับว่า  คุณไม่ใช้คำสั่ง artisan ก็ได้นะ ไม่ใช่เคสบังคับ สร้างไฟล์เอง เขียนโค้ดเองทุกบรรทัด ก็ได้ แต่ถ้าหากใช้ artisan มันจะช่วยลดเวลา (ถ้าใช้มันคล่องนะ แรกๆทำใจเรื่องจำคำสั่งนิดนึง)

เรามาดูคำสั่งที่ใช้บ่อยๆกัน

php artisan list - ใช้สำหรับดูคำสั่งทั้งหมด

php artisan help CommandName - ใช้สำหรับดูวิธีใช้คำสั่งที่ต้องการ

php artisan make:controller ControllerName - ใช้สำหรับสร้าง controller

php artisan make:model ModelName - ใช้สำหรับสร้าง model

php artisan make:migration MigrationName - ใช้สำหรับสร้างไฟล์ migration

php artisan migrate - ใช้สำหรับ migrate ฐานข้อมูล

php artisan db:rollback - ใช้สำหรับ rollback ฐานข้อมูลหลังจากทำ migrate (ใช้บ่อยตอนสร้างไฟล์ migration เพราะต้องทดสอบการทำงาน)

ยังมีคำสั่งที่ไม่ได้ใช้บ่อยอีกจำนวนหนึ่ง ดูได้ที่ http://cheats.jesse-obrien.ca/ หรือจะดูจากคำสั่ง

php artisan list

ก็ได้ ดูซะนะครับเพราะใช้บ่อยท่านกับใช้บ่อยผมมันอาจจะไม่เหมือนกัน