เวลาที่ผมติดตั้งโปรแกรมอะไรลงไปในเครื่อง ก็ตาม สิ่งแรกที่ผมจะทำคือ เปิดโปรแกรมมันขึ้นมา แล้วก็คลิกไปดูตามเมนูต่างๆ ว่ามันมีคำสั่งอะไรให้ใช้งานบ้าง ซึ่งโปรแกรมโดยทั่วๆไป ก็จะมีเมนู File,Edit,View,Windows,Help
ธรรมชาติของเมนูเหล่านี้คือ
File : เก็บคำสั่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับไฟล์ ไม่ว่าจะเป็นสร้างไฟล์ใหม่ เปิดไฟล์เก่ามาแก้ไข บันทึก บันทึกเป็นชื่อใหม่ ไฟล์ที่เปิดเร็วๆนี้ ปริ้นต์ ออกจากโปรแกรม เป็นต้น ไม่ไกลไปจากนี้หรอก
Edit : เก็บคำสั่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไข ไม่ว่าจะเป็น ย้อนไปข้างหลัง ย้อนไปข้างหน้า ก้อปปี้ วาง ค้นหา ค้นหาและแทนที่
View : เก็บคำสั่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น คืออะไรที่สามารถมองเห็นบนหน้าจอ มันจะเก็บไว้ที่นี่หมด เช่นสมมติว่า ครั้งหนึ่งเราเคยเห็นว่าโปรแกรมที่เราใช้อยู่มันมี ไม้บรรทัดอยู่ด้วย หลังจากหลานมาเล่นเครื่อง ไม้บรรทัดก็หายไป ถ้าอยากเอาไม้บรรทัดออกมา ให้เข้าไปดูในเมนู view เลยครับ มันจะอยู่ในนี้แหละ หรือครั้งหนึ่งเราเคยเห็นเส้นกริดแสดงพาดขวางอยู่ในเอกสาร แล้วมันหายไป มันก็จะอยู่ในเมนู view นี่แหละ ให้จำไว้เลยว่าอะไรที่มองเห็นบนหน้าจอ ถ้าต้องการซ่อนมันหรือเอามาออกมาแสดง มันจะอยู่ในเมนูนี้หมด
Windows : เก็บคำสั่งต่างๆที่เกี่ยวกับหน้าต่างโปรแกรม คือบางโปรแกรมมันจะมีหน้าต่างย่อยๆอยู่ภายใน ถ้ามันหายไป ก็มาค้นเอาในเมนูนี้แหละครับ
Help : เก็บคู่มือการใช้งานโปรแกรมไว้
ผมอยากให้ท่านๆ ได้พิจารณาธรรมชาติของเมนูเหล่านี้ให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง แล้วท่านจะใช้งานโปรแกรมใหม่ๆ ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นมาก บางทีที่ท่านเห็นคำสั่งแปลกๆ อยู่ภายใต้เมนู Edit ถึงจะไม่รู้ว่ามันไว้ใช้ทำอะไร ท่านยังพอสรุปได้ว่า มันต้องเกี่ยวกับการแก้ไขเอกสารแหละ ไม่มีทางเป็นอื่นไปได้
เมื่อผมเริ่มใช้ SVN มันมีศัพท์หลายๆศัพท์ ที่ผมไม่เคยได้ยิน และไม่คุ้นเคยกับมันเอาเสียเลย ผมจึงเอามาเขียนเล่าสู่กันฟัง เผื่อใครที่คิดจะใช้ SVN จะได้เป็นแนวทางคร่าวๆ
Repository /Repositories
ถ้าจะแปลตามตัวภาษาอังกฤษ มันจะแปลได้ว่า โกดัง (ผมเปิดดิกชันนารี เอาน่ะครับ :> ) Repositoies คือโฟลเดอร์ที่เราไว้ใช้เก็บซอร์สโค้ดโปรเจ็กต่างๆของเราบน SVN Server
ตอนเราติดตั้ง Visual SVN มันจะให้เรากำหนดเลยว่า จะใช้โฟลเดอร์ไหนเป็นโกดังสำหรับเก็บซอร์สโค้ดของเรา
Checkout
เป็นกระบวนการก้อปปี้โค้ดจากโกดังซอร์สโค้ดมาที่เครื่องเรา เพื่อการแก้ไขและทดสอบ
ขอเล่าหลักการทำงานของ SVN นิดนึงเพื่อประกอบความเข้าใจ SVN Server จะทำหน้าที่เก็บซอร์สโค้ด เวลาที่เราเป็นหนึ่งในโปรแกรมเมอร์ที่ร่วมพัฒนาโปรเจ็กนั้นๆ เราจะต้อง Checkout ซอร์สโค้ดจาก SVN Server มาไว้ที่เครื่องเรา จากนั้นจึงแก้ไขและทดสอบ จนการทำงานของโปรแกรมถูกต้องดีแล้ว เราจึงส่งไฟล์ที่เราแก้ไขทั้งหมด ขึ้นไปเก็บไว้ที่ SVN Server เพื่อบันทึกการแก้ไขและแชร์ไฟล์ที่เราแก้ไข ไปยังโปรแกรมเมอร์ท่านอื่นๆ ที่ร่วมพัฒนาโปรเจ็กเดียวกัน จงจำไว้ว่า เราไม่ได้แก้ไขไฟล์ที่ SVN Server โดยตรง แต่เราก้อปปี้โค้ดมาแก้ไขที่เครื่องเรา เสร็จแล้วจึงส่งโค้ดขึ้นไปแชร์ให้คนอื่นๆ ทำให้คนอื่นๆจะไม่เจอเอ่อเร่อของโปรแกรมที่เรากำลังพัฒนาอยู่
Commit
เป็นกระบวนการส่งโค้ดที่ทดสอบเรียบร้อยแล้ว จากเครื่องของเราไปเก็บไว้ที่ SVN Server
Leave a Reply