การเขียนบทความยังไงก็หลีกหนีไม่พ้น ถ้าไม่เขียนบทความแล้ว ก็ไม่รู้จะสร้างเว็บทำอะไร
1. ล้อกอินเข้าสู่ระบบ
2. คลิกที่ ปุ่ม Posts หรือ Posts > Add New
3. ป้อนรายละเอียดต่างๆ
Enter title here : ป้อนหัวข้อบทความ
Excerpt : เนื้อหาย่อของบทความ ตรงนี้บางธีมนำไปใช้ บางธีมไม่ได้นำไปใช้ ถ้าไม่ได้นำไปใช้ก็ไม่ต้องป้อน
Send Trackbacks : เวลาที่เราเขียนบทความมีการอ้างอิงไปถึงเว็บไซต์ไหน แล้วเราอยากจะแจ้งเขาว่าเราเขียนถึงเขานะ ก็ป้อน url ของเว็บเขาในช่องนี้ ถ้าต้องการแจ้งไปยังหลายเว็บไซต์ ให้คั่นแต่ละเว็บไซต์ด้วยเครื่องหมายคอมม่า
Custom Fields : เป็นส่วนขยายบทความ ตัวนี้แหละที่ทำให้เวิร์ดเพรสเป็นอะไรๆได้อย่างกว้างขวาง ต้องใช้ประกอบกับธีม บางธีมที่ถูกออกแบบมาไม่ได้ใช้คุณสมบัติของ Custom Fields ก็ไม่ต้องทำอะไรตรงนี้ ส่วนถ้าธีมตัวไหนใช้ ก็ต้องดูอีกทีว่าเขาให้ตั้งชื่อ Custom Fields ว่าอะไรในช่อง Name ฉะนั้นตรงนี้ต้องถามจากผู้ออกแบบธีม
Discussion : ไว้เซ็ตอนุญาติหรือไม่อนุญาติให้คอมเม้น และอนุญาติหรือไม่อนุญาติให้เว็บอื่นแจ้งข่าวอ้างอิงถึงเรา
Author : กำหนดว่าใครเป็นผู้เขียนบทความอันนี้
Save Draft : บันทึกบทความเป็นดราฟไว้ค่อยมาเขียนต่อ
Preview : ดูการแสดงผลของบทความ ก่อนจะทำการเผยแพร่
Publish : เผยแพร่บทความ
Categories : เลือกหมวดหมู่ให้บทความนี้
Post Tags : ป้อน Tags หรือคำสำหรับค้นหา บทความนี้
Featured Image : ภาพหน้าหัวข้อบทความ ช่องนี้ของบางคนก็ไม่มี ขึ้นอยู่กับธีมที่ใช้
httpv://www.youtube.com/watch?v=vmtrCkJjoqQ
Leave a Reply