ตอนแรกที่เพิ่งใช้เวิร์ดเพรสใหม่ๆ หลังจากล้อกอินเข้าสู่ระบบด้วยแอคเค้าของแอดมินแล้ว รู้สึกว่าเมนูเยอะแยะไปหมดและไม่รู้ว่าแต่ละอันไว้ใช้ทำอะไรบ้าง

ลองอ่านบทความที่ผมจะเขียนต่อไปนี้ครับ ผมเชื่อว่าท่านน่าจะเห็นภาพรวมของระบบ และลดความมึนลงได้ไม่มากก็น้อย

1. Dashboard

หน้าแสดงภาพรวมของเว็บไซต์เรา ตัวอย่างเช่น จำนวนบทความทั้งหมด จำนวนความเห็นแสปมที่บุกเว็บเรา จำนวนหน้าทั้งหมด รวมถึงลิ้งก์ที่จะเข้าไปสู่การเขียนบทความ เป็นต้น

wordpress_wp-admin

2. Posts

เมนูที่ใช้สำหรับจัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบทความ
– เพิ่ม ลบ แก้ไข บทความ
– เพิ่ม ลบ แก้ไข หมวดหมู่บทความ
– เพิ่มลบแก้ไข Tags

wordpress-posts

3. Media

เมนูที่ใช้สำหรับจัดการกับข้อมูลมีเดีย จำพวกภาพ ไฟล์วิดีโอ เป็นต้น
โดยปกติแล้ว ภาพหรือวิดีโอ เราจะใส่เข้าไปในเว็บตอนที่เราเขียนบทความ มีปุ่มให้อัปโหลดภาพตรงช่องเขียนบทความ ภาพและวิดีโอทั้งหมดที่เราใส่ตอนที่เราเขียนบทความ มันจะถูกนำมารวบรวมเก็บไว้ที่นี่ด้วย (ก้อปปี้เดียวไม่ใช่สองก้อปปี้) ทำให้การจัดการรูปภาพง่ายขึ้น แต่บอกตามตรงว่าผมไม่เคยใช้เมนูนี้เลย

wordpress-media

4. Links

เมนูที่ใช้สำหรับจัดการลิ้งก์ภายนอก จำพวกลิ้งก์ที่น่าสนใจ , ลิ้งก์เพื่อนบ้าน อะไรทำนองนี้ เรามาเพิ่ม หรือแก้ไขลิ้งก์ที่นี่ เวลาจะแสดงบนหน้าเว็บ เราก็ใช้ widget เป็นตัวนำลิ้งก์ไปแสดงที่ sidebar

wordpress-links

5. Pages

ใช้สำหรับจัดการหน้า static page ภายในเว็บ จำพวก เกี่ยวกับเรา,บริการของเรา,ติดต่อเรา

wordpress-pages

6. Comments

ใช้สำหรับจัดการกับความคิดเห็นที่ยูสเซอร์มาลงไว้ในเว็บของเรา สามารถแก้ไข ลบ หรือตอบความคิดเห็นได้ในเมนูนี้

wordpress-comments

7. Appearance

ใช้หรับจัดการกับหน้าตามของเว็บ เช่น ติดตั้งธีมใหม่ หรือแก้ไข CSS ของธีมที่ใช้อยู่ เป็นต้น

wordpress-appearance

8. Plugins

ใช้สำหรับติดตั้งโค้ดเพิ่มความสามารถ (ปลักอิน) ให้กับตัวเวิร์ดเพรส

wordpress-plugins

9. Users

ใช้สำหรับจัดการผู้ใช้ในระบบ

wordpress-users

10. Tools

ใช้สำหรับเข้าถึงเครื่องมือเว็บ เช่น export import

wordpress-tools

11. Settings

ใช้สำหรับตั้งค่าต่างๆ ในระบบ เช่น อนุญาติให้มีการคอมเม้นท์บทความหรือไม่ , กำหนดการแสดงผลวันที่ เวลา , ตั้งค่าประเทศ เป็นต้น

wordpress-settings

ถ้าเราทำความเข้าใจว่าแต่ละเมนูใช้ทำอะไร เวลาเราล้อกอินเข้าสู่ระบบครั้งต่อไป เราจะไม่รู้สึกว่าเมนูมีมากและสับสน เมนูแต่ละตัวมีหน้าที่เป็นของตัวเองอยู่แล้ว