1. ติดตั้งง่าย

ง่ายแค่ไหนคงต้องลองถามเพื่อนคนข้างๆที่เคยใช้เวิร์ดเพรส หรือไม่ก็ลองดาวน์โหลดเวิร์ดเพรสไปติดตั้งในเครื่องดู จะรู้ว่ามันง่ายแค่ไหน ไม่น่าเกิน 5 นาที สำหรับการติดตั้ง

2. อัปเกรดง่ายและไม่กระทบกับธีมหรือข้อมูลเดิม

เนื่องจากระบบธีมของเวิร์ดเพรสแยกออกจากโค้ดที่เป็นส่วนคอร์อย่างชัดเจน ทำให้เวลามีเวิร์ดเพรสเวอร์ชั่นใหม่ออกมา เราสามารถอัปเกรดได้เลยโดยไม่ต้องกังวลว่า จะทำให้ธีมที่เคยออกแบบไว้เสียหาย หรือข้อมูลที่เคยป้อนไว้เสียหาย

3. ระบบป้องกันแสปมที่ดี

ถึงแม้ว่าในเวิร์ดเพรสของเราจะไม่ได้ติดตั้ง Akismet ที่เป็นปลักอินกรองแสปมโดยเฉพาะ กระนั้นยังมีแสปมหลุดเข้ามาในระบบน้อยมาก ยิ่งถ้าได้ติดตั้ง Akismet ด้วยแล้วยิ่งทำให้การกรองแสปมดีขึ้นไปอีก

4. มีการเข้ารหัสข้อมูลก่อนเก็บลงคุกกี้

การล้วงข้อมูลของผู้ใช้ โดยส่วนใหญ่มอลแวร์จะไปค้นหาจากไฟล์คุกกี้ เวิร์ดเพรสนั้น ไฟล์ wp-config.php จะมีตัวแปรให้เรากำหนดคีย์ที่ใช้สำหรับการเข้ารหัสข้อมูลก่อนการเก็บลงคุกกี้ ทำให้ข้อมูลมีความปลอดภัยสูง ( น้อยรายจะทราบว่ามีอะไรให้เซตตรงนี้ด้วย วันหลังจะเขียนอธิบายให้ฟัง )

5. สามารถกำหนดรหัสผ่านให้กับบทความแต่ละบท

ในกรณีที่เราต้องการให้บทความไหนๆ ก่อนจะอ่านได้ต้องป้อนรหัสผ่านที่กำหนดไว้เสียก่อน เวิร์ดเพรสสามารถทำได้ และแต่ละบทความสามารถกำหนดรหัสผ่านที่แตกต่างกันได้ด้วย หรือจะกำหนดให้บทความไหนๆอ่านได้เฉพาะในกลุ่ม Author ด้วยกันเท่านั้น ก็ได้

6. สนับสนุน XML-RPC โปรโตคอล

เวิร์ดเพรสไม่เพียงแต่จะเขียนบทความได้เฉพาะบนเว็บเท่านั้น แต่เราสามารถติดตั้งโปรแกรมที่ใช้สำหรับเขียนบล้อก เช่น Window Live Writer บนเดสก์ทอปของเรา เขียนบทความบนเครื่องเดสก์ทอป เผยแพร่บทความยิงตรงขึ้นเว็บไซต์ได้เลย

7. สนับสนุนการส่งบทความผ่านอีเมล์

นอกจากจะ สนับสนุน XML-RPC โปรโตคอล แล้ว เรายังสามารถเขียนบทความในอีเมล์แล้วส่งขึ้นไปเผยแพร่บทเว็บเราก็ได้ด้วย ( ตรงนี้วันหลังจะเขียนวิธีทำให้อ่าน )

8. สามารถมีผู้เขียนบทความได้หลายราย

เวิร์ดเพรสนั้นมีผู้เขียนบทความถึง 3 ระดับ

– Editor – สามารถเขียนบทความ เผยแพร่ได้เอง รวมถึงตรวจและเผยแพร่บทความของผู้อื่น ได้
– Author – สามารถเขียนบทความและเผยแพร่บทความของตัวเองได้ ไม่สามารถเผยแพร่หรือจัดการบทความของผู้อื่น
– Contributor – สามารถเขียนบทความแต่ไม่สามารถเผยแพร่บทความได้

แต่ละระดับเราสา่มารถกำหนดได้หลายคน ทำให้เวิร์ดเพรสซัพพอร์ตระบบสำนักพิมพ์ได้เลย

9. มีระบบ Ping ภายในตัวเอง

การ Ping คือการแจ้งเตือนไปยังเสิร์ชเอนจิ้น บอกว่าขณะนี้ทางเว็บไซต์ของเรามีบทความใหม่ ให้เข้ามาเก็บไปทำดัชนีได้แล้ว ทำให้เว็บไซต์ของเราติดดัชนีในเสิร์ชเอ็นจินจำนวนมากและทันต่อเหตุการณ์ ทำให้คนเข้าเว็บมากตามไปด้วย

เมื่อมีบทความใหม่เวิร์ดเพรสจะทำการ Ping ไปยังเว็บ http://pingomatic.com แล้วทาง pingomatic.com จะทำการ Ping ต่ออีกที

ดูหน้าตาเขาละกันว่าเขา Ping ไปตั้งกี่เซอวิส

pingomatic

ยังมีคุณสมบัติอีกหลายประการที่ยังไม่ได้กล่าวถึง ลองอ่าน
http://wordpress.org/about/features