ในบรรดาหน้าตาเว็บไซต์ที่ทำแจกๆกันมา นับธีมของเวิร์ดเพรสเป็นอันดับหนึ่ง (ความชื่อส่วนบุคคล ผู้ชมโปรดใช้วิจารณญาณ)
ผมเป็นเดเวลอปเปอร์ เน้นสายงานด้านพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนเว็บ ผมยอมรับต่อคำกล่าวที่ว่า “คนเขียนโปรแกรมเป็นมักโง่ในเรื่องออกแบบ” โดยไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ ก็เพราะว่ามันเป็นความจริง ความจริงที่รู้อยู่แก่ใจ และไม่รู้จะปฎิเสธยังไง ก็มันไม่มีจินตนาการทางด้านออกแบบนี่หว่า
สิ่งที่พอจะเป็นแหล่งพึ่งพิงได้ก็คือ ไปหาธีมงามๆมาจากในเน็ต แล้วก็ฉอเลาะใช้คำว่าโมดิฟาย มากลบเกลื่อนความไม่ได้เรื่องทางสีสรร มันก็ได้ผลลัพธ์ที่ดีทีเดียว
ในบรรดาหน้าตาเว็บไซต์ที่ทำแจกๆกันมา นับธีมของเวิร์ดเพรสเป็นอันดับหนึ่ง (ความชื่อส่วนบุคคล ผู้ชมโปรดใช้วิจารณญาณ)
ผมไปเจอบทความๆหนึ่งของฝรั่ง เขาแนะนำวิธีที่ไม่เพียงแค่ดึงเอาธีมของเวิร์ดเพรสมาใช้ในโปรเจ็กของเรา แต่มันดึงเอาความสามารถของเวิร์ดเพรสมาได้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น sidebar, widget และทั้งหมด (ไม่รู้จะบอกไง จินตนาการเอาเองละกัน)
วิธีการก็เพียงง่ายๆ แค่ include ไฟล์คอร์ของเวิร์ดเพรสเข้ามา หลังจากนั้นเราก็สามารถเรียกใช้ฟังก์ชั่นต่างๆของเวิร์ดเพรสได้สบายเลย อีกทั้งถ้าจะเปลี่ยนธีมหรือติดตั้งวิดเจ็ต ก็ทำในเวิร์ดเพรส แล้วมันจะมาโผล่ให้เห็นที่โปรเจ็กของเรา ว้าว….
โค้ดมันจะเป็นประมาณนี้
[codesyntax lang=”php” container=”none” doclinks=”0″]
<?php include(’wp-blog-header.php’); ?> <?php get_header(); ?> // ตรงนี้เป็นโค้ดโปรแกรมของท่าน <?php get_sidebar(); ?> <?php get_footer(); ?>
[/codesyntax]
บรรทัดแรก อินคลูดคอร์ของเวิร์ดเพรสเข้ามา มันอยู่ในโฟลเดอร์หลักของเวิร์ดเพรสนั่นแหละครับ ส่วนพาธผุ้เรียน PHP รู้ดีว่าจะต้องใส่ยังไงสะแล้ดๆกี่ระดับ
get_header() เป็นคำสั่งของเวิร์ดเพรสเพื่อเรียกส่วนหัวของหน้าเว็บออกมา get_sidebar() เป็นคำสั่งเรียกบาร์ดด้านข้าง get_footer() เป็นคำสั่งเรียกส่วนท้ายของหน้าเว็บ 3 คำสั่งนี้จะทำหน้าที่ดึงหน้าตาของเวิร์ดเพรสออกมา ส่วนโค้ดโปรแกรมของเราก็ให้แทรกไว้ระหว่างกลาง ตรงที่ผมทำคอมเม้นท์ไว้
Leave a Reply