เอกสารใดๆก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น word excel หรือ pdf เอง จะมีข้อมูลส่วนหนึ่งที่ติดตัวเอกสาร เพื่อเป็นตัวบ่งบอกเอกลักษณ์ หรือข้อมูล ของเอกสารนั้นๆ เช่น โปรแกรมที่ใช้สร้างเอกสารชิ้นนี้ขึ้นมา ชื่อผู้ผลิต คีย์เวิร์ดสำหรับการค้นหา เป็นต้น

FPDF จะมีคำสั่งที่ใช้สำหรับกำหนดคุณสมบัติของเอกสาร 6 คำสั่ง

  • SetAuthor
  • SetCreator
  • SetDisplayMode
  • SetKeywords
  • SetSubject
  • SetTitle

SetAuthor(string author [, boolean isUTF8])

คำอธิบาย

สำหรับกำหนดชื่อเจ้าของเอกสาร

พารามิเตอร์

author : (string) ชื่อเจ้าของเอกสาร
isUTF8 : (true/false) string ชื่อเจ้าของเอกสารเข้ารหัส utf-8 หรือไม่

SetCreator(string creator [, boolean isUTF8])

คำอธิบาย

สำหรับกำหนดชื่อผู้สร้างเอกสาร โดยทั่วไปแล้วจะใช้เป็นชื่อแอพพลิเคชั่นที่สร้างไฟล์ pdf

พารามิเตอร์

creator : (string) ชื่อผู้สร้างเอกสาร
isUTF8 : (true/false) string ชื่อเจ้าผู้สร้างเอกสารเข้ารหัส utf-8 หรือไม่

SetDisplayMode(mixed zoom [, string layout])

คำอธิบาย

ท่านจะเห็นว่าในไฟล์ pdf นั้นเวลาเราเปิด จะมีที่สำหรับให้เลือกว่าจะดูแบบ เต็มหน้ากระดาษ หรือเต็มความกว้างของหน้าจอ และอีกหลายตัวเลือก คำสั่งนี้อนุญาติให้เรากำหนดโหมดที่จะให้ user เห็นตั้งแต่เปิดเอกสาร

พารามิเตอร์

zoom : กำหนด zoom

    ค่าที่เป็นไปได้คือ

  • fullpage – แสดงเอกสารเต็มหน้าหน้าดาษ เห็นทั้งหน้าเต็มๆ
  • fullwidth – แสดงเอกสารเต็มหน้าด้านกว้าง
  • real – แสดงเอกสาร 100%
  • default – ปล่อยไปตามที่ยูสเซ่อร์กำหนดไว้ในโปรแกรม adobe reader

และยังสามารถกำหนดเป็นตัวเลขจำนวน เปอร์เซ็นต์ได้ด้วย

layout : (string) กำหนด layout ที่ใช้เมื่อยูสเซ่อร์เปิดไฟล์ pdf ของเรา

    ค่าที่เป็นไปได้คือ

  • single – แสดงครั้งละ 1 หน้าเต็ม
  • continuous – (default) แสดงหน้าแบบต่อเนื่อง
  • two – แสดงครั้งละ 2 หน้า
  • default – ปล่อยไปตามที่ยูสเซ่อร์กำหนดไว้ในโปรแกรม adobe reader

SetKeywords(string keywords [, boolean isUTF8])

คำอธิบาย

สำหรับกำหนดรายการ คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวกับเอกสาร ไว้สำหรับค้นหา ซึ่งรายการคีย์เวิร์ดจะอยู่ในรูปแบบ ‘keywork1 keyword2 …’

พารามิเตอร์

keywords : (string) รายการคีย์เวิร์ด
isUTF8 : (true/false) รายการคีย์เวิร์ดใช้ชุดอักขระ UTF-8 หรือไม่ ค่าดีฟอลต์คือ false

SetSubject(string subject [, boolean isUTF8])

คำอธิบาย

สำหรับกำหนด subject ของเอกสาร

พารามิเตอร์

subject : (string) subject ของเอกสาร
isUTF8 : (true/false) subject ของเอกสารใช้ชุดอักขระ UTF-8 หรือไม่ ค่าดีฟอลต์คือ false

SetTitle(string title [, boolean isUTF8])

คำอธิบาย

สำหรับกำหนด title ของเอกสาร

พารามิเตอร์

title : (string) title ของเอกสาร
isUTF8 : (true/false) title ของเอกสารใช้ชุดอักขระ UTF-8 หรือไม่ ค่าดีฟอลต์คือ false

คำสั่งในกลุ่มนี้จะไม่แสดงผลบนหน้าเอกสาร ท่านจะต้องไปที่เมนู File > Properties… จึงจะเห็น

ตัวอย่างการใช้งานคำสั่งในกลุ่มนี้

Live Demo

<?php
require('fpdf.php');
 
$pdf=new FPDF();
 
//กำหนดคุณสมบัติของเอกสาร pdf
$pdf->SetAuthor( 'select2web.com' );
$pdf->SetCreator( 'fpdf version 1.6' );
$pdf->SetDisplayMode( 'fullwidth' , 'two' );
$pdf->SetKeywords( 'php mysql jquery' );
$pdf->SetSubject( 'this document for testing.' );
$pdf->SetTitle( 'Showme' );
 
 
//สร้างหน้าเอกสาร
$pdf->AddPage();
$pdf->SetFont('Arial','B',16);
 
$string = '';
 
for($i=0;$i<30;++$i){
 
	$string .= <<<HEREDOC
When CSS was introduced to web technologies in order to separate design from
content, a way was needed to refer to groups of page elements from external
style sheets. The method developed was through the use of selectors, which concisely
represent elements based upon their attributes or position within the
HTML document.
HEREDOC;
 
}
 
$pdf->MultiCell( 0  , 7 , $string );
$pdf->Output();
?>

เมื่อท่านลองคลิกขวาที่ไฟล์ pdf ที่สร้างขึ้นมา แล้วเลือก Document Properties… ท่านจะเจอหน้าตาประมาณนี้